ข้อมูลท่องเที่ยว @ Australia

ตรวจเช็คสภาพอากาศได้ที่ Melbourne
http://www.weather.com.au/vic/melbourne

รู้จัก Melbourne ได้จาก
http://www.visitmelbourne.com/
http://www.melbourneaustralia.org/climate.html
http://staging.australia.com/
http://melbourne.wellpronounce.com/home/kickrrm-nak-dein-thang/len-ski-thi-mel-beirn
http://www.mtbuller.com.au/Winter/

ไปรษณีย์
นอกจากจะส่งจดหมาย พัสดุภัณฑ์ ซื้อ Stamp ได้แล้ว Post Office ยังจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ซื้อบัตรเติมเงินโทรศัพท์ บัตรโทรศัพท์ ซื้อสมุด ปากกา ดินสอ หนังสือได้อีกด้วย เปิดทำการ 9:00-17:00 ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ausport.com.au ส่วนค่าส่งไปรษณียบัตรกลับมาเมืองไทยอยู่ที่ A$1.25 ส่วนค่าส่งจดหมายเริ่มต้นที่ A$1.30 แต่ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของจดหมายด้วย 


เครือข่ายโทรศัพท์ในออสเตรเลีย

Optus
http://www.optus.com.au/home/index.html

Telechoice
http://www.telechoice.com.au/phones

Three
http://www.three.com.au/blackberry

INTERNET
http://www.bigpond.com/internet/plans/wireless/plans-and-offers/


การค้นหาสถาบันการเรียน

http://studyinaustralia.gov.au/

ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของออสเตรเลียโดยตรง คุณจะเช็ครายชื่อ สถาบันการศึกษาทั้งหมดในออสเตรเลีย

ค้นหาเส้นทางการเดินทางได้จาก

http://www.railmaps.com.au/

http://www.street-directory.com.au/

Australian Organizations / Bank


All about Australia http://www.australia.com/

Australian Embassy, Thailand http://www.austembassy.or.th/

Australian Education International http://www.aei.gov.au/

Australian Immigration http://www.immi.gov.au/

Australian Customs Service http://www.customs.gov.au/

Department of Foreign Affairs, Australia http://www.dfat.gov.au/

Australian Technology Network of Universities http://www.atn.edu.au/

Innovative Research Universities Australia http://www.irua.edu.au/

The Group of Eight universities http://www.g08.edu.au/

IELTS http://www.ielts.org/

Bureau of Meteorology, Australia (Weather Forecast) http://www.bom.gov.au/

Overseas Student Health Cover (OSHC) http://www.oshcworldcare.com.au/

การขอวีซ่า http://www.vfs-au.net/

การเสียภาษีหลังได้งานทำ http://www.ato.gov.au/

ผู้ให้บริการโทรศัพท์และคมนาคม http://www.telstra.com/

ผู้ให้บริการโทรศัทพ์และคมนาคม http://www.optus.com.au/

ผู้ให้บริการโทรศัทพ์และคมนาคม http://www.vodafone.com/

Banks

– Adelaide Bank http://www.adelaidebank.com.au/

– Australia and New Zealand Banking Group (ANZ) http://www.anz.com/

– Bank of Queensland http://www.boq.com.au/

– Bank of Western Australia (Bankwest) http://www.bankwest.com.au/

– BankSA http://www.banksa.com.au/

– Bendigo Bank http://www.bendigobank.com.au/

– Citibank Australia http://www.citibank.com.au/

– Commonwealth Bank of Australia http://www.commbank.com.au/

– HSBC Bank Australia www.hsbc.com.au/1/2/

– ING Bank (Australia) http://www.ingdirect.com.au/

– National Australia Bank (NAB) http://www.nab.com.au/

– St. George Bank http://www.stgeorge.com.au/

– Westpac Banking Corporation http://www.westpac.com.au/


Deakin University

Deakin University จัดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ของประเทศออสเตรเลียซึ่งมีนักศึกษามากกว่า 34,000 คน


Deakin University มีทั้งหมด 4 แคมปัส Burwood, Geelong, Waurn Ponds, และ Warrnambool Campus

นักศึกษาส่วนมากของปริญญาโท ปริญญาตรี คอร์สภาษาอังกฤษ และ นักเรียน MIBT (Melbourne Institute of Business and Technology) จะเรียนที่ Burwood แคมปัส

Deakin University จัดเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายสำหรับนักศึกษา เช่น ธนาคาร ร้านขายหนังสือ ร้านอาหารนานาชาติ สถานรับเลี้ยงเด็ก สวนสาธารณะ ร้านตัดผม ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Internet ความเร็วสูง สำนักงานไปรษณีย์ ห้องฟิตเนต สนามกีฬาในร่ม และ สนามกีฬากลางแจ้ง เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้นทางมหาวิทยาลัยจัดให้มี International Student Advisor ที่คอยให้คำปรึกษาสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติด้วย สำหรับนักศึกษาที่สนใจที่จะขอสัญชาติออสเตรเลียน (Australian citizen) สามารถลงเรียน Double Degrees ได้ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาเรียนทั้งหมดประมาณ 2 ปี ที่ทางมหาวิทยาลัยนี้ได้
การเดินทางไปจากในเมือง Melbourne มาที่ Deakin University สามารถเดินทางด้วยรถราง (Tram) หรือ รถไฟ (Train) แต่การเดินทางโดยรถไฟจะสะดวกกว่า

ถ้าจากในเมืองไปยัง Deakin University ก็ให้ขึ้นรถไฟสาย Alamain ที่ Flinders Street (เป็นเหมือนหัวลำโพงบ้านเรา ที่เป็นจุดเชื่อมต่อของทุกสายรถไฟ) แล้วไปลงที่ Burwood Train stration โดยจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที

ส่วนการเดินทางโดยรถราง ก็ให้ขึ้นสาย 75 สายเดียวเท่านั้นที่ Flinder Street แล้วก็นั่งมาเรื่อยๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง

แต่ถ้านักศึกษาหาที่พักแถว Glenferrie หรือ Cambellwell ก็จะใช้เวลาเพียงประมาณ 25 นาทีเท่านั้น

==============
http://www.tandgbcenter.com/melbourne/melbourne_info.php


Emergency Call


ถ้าทำสิ่งของสูญหายระหว่างการเดินทาง หรือพบเจอสิ่งของระหว่างเดินทาง ท่านสามารถแจ้งได้ที่หมายเลขดังนี้
รถไฟ City Rail 131 500 หรือ 8202 2000
รถเมล์ Sydney Busses 131 500
เรือข้ามฟาก Sydney Ferry 9207 3101
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโดยสารรถไฟ City Rail www.cityrail.info
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโดยสารรถเมล์ Sydney Buses www.sydneybuses.info
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโดยสารเรือข้ามฟาก Sydney Ferry www.sydneyferries.info
.............................................................................................................................
ระบบไฟฟ้า

ระบบไฟฟ้าที่ประเทศออสเตรเลียใช้นั้นอยู่ที่ 230-250 โวลต์ / 50 วงจร เป็นแบบตัวเสียบระบบ AC ที่มี 3 หัว ดังนั้นควรใช้ Adaptor หรือหัวแปลงหม้อไฟด้วย โดยสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วไป
.............................................................................................................................
ระบบเงินตรา 

ใช้เงินสกุล Australian Dollar (A$) 1 ดอลล่าร์ = 100 เซ็นต์
เหรียญประกอบด้วย 5c, 10c, 20c, 50c, 1 ดอลล่าร์ และ 2 ดอลล่าร์
ธนบัตรประกอยด้วย A$5, A$10, A$20, A$50 และ A$100
.............................................................................................................................
ธนาคาร 

ธนาคารในออสเตรเลียมีอยู่หลายธนาคารด้วยกัน การเลือกว่าจะเปิดบัญชีกับธนาคารไหน ควรจะขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ใช้มากว่า เพราะถ้าคุณใช้บัตร ATM ของธนาคารหนึ่งไปใช้ถอนเงินต่างธนาคาร ก็จะต้องเสียค่าบริการตามเงื่อนไขของธนาคารที่กำหนดไว้ ดังนั้นจึงควรเลือกธนาคารส่วนใหญ่ที่มีสาขาทั่วไปใได้แก่
Commonwealth Bank (www.commbank.com.au)
St. George Bank (www.stgeorge.com.au)
ANZ Bank (www.anz.com)
National Bank (www.national.com.au)
Westpac Bank (www.westpac.com.au)
เวลาทำการ จันทร์–พฤหัสฯ เวลา 9:30-16:00 วันศุกร์ เวลา 9:30 – 17:00 บางแห่งอาจจะเปิดทำการวันเสาร์ด้วย

การเปิดบัญชีธนาคารในออสเตรเลีย 

นักเรียนไทยควรจะเปิดบัญชีธนาคารของที่นี่ไว้สักบัญชี เนื่องจากบัญชีธนาคารของที่นี่อาจจะเป็น ประโยชน์ในการใช้ชีวิตของน้องๆ ในแดนจิงโจ้แห่งนี้ด้วยเหตุผลหลายๆอย่างด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น เอาไว้เป็นหลักฐานทางการเงินในการยื่นวีซ่าครั้งต่อไป, เอาไว้ยื่นขอโทรศัพท์มือถือ (แบบ Plan), เอาไว้ทำสัญญาเช่าบ้าน, สามารถซื้อของโดยใช้บัตร ATM แทนเงินสดได้เกือบทุกร้านค้า และที่สำคัญ คือ ใช้ในการเก็บรักษาเงิน
ส่วนเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับเปิดบัญชีก็มีดังนี้
หนังสือเดินทาง
จดหมาย รับรองจากสถาบัน อาทิเช่น บัตรนักเรียน, จดหมายจากสถาบันที่ยืนยันว่าเป็นนักเรียนของสถาบันนั้นๆ, ใบ COE (Confirmation Of Enrolment)
เงินสดไม่ต่ำกว่า $100 ออสเตรเลียดอลลาร์ (บางธนาคารไม่จำเป็นต้องฝากเงินสดในครั้งแรกที่เปิดบัญชี)
หลังจากที่เปิดบัญชีธนาคารแล้ว ทางธนาคารจะ ให้หมายเลขบัญชี และเงื่อนไขต่างๆของบัญชีนั้นๆ แก่เจ้าของบัญชี แต่สำหรับบัตร ATM และรหัสผ่าน (Pin Number) ทางธนาคารจะส่งแยกกัน
.............................................................................................................................
ร้านค้าและห้างสรรพสินค้า 

ร้านค้าและห้างสรรพสินค้าที่เป็นที่รู้จักคือ David Jones, Targets, Big W, Myer, Coles และ Woolworth เปิดประมาณ 8:00–17:30 แต่ละรัฐจะมี Late Night Shopping ต่างกันในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งร้านจะปิดประมาณ 21:00 ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ เปิดให้บริการประมาณ 9:00-17:30 น.
น้องๆสามารถหาของกินของใช้จากเอเชีย ได้ที่ China Town แม้ว่าร้านค้าและห้างสรรพสินค้าข้างต้นอาจจะมีของจากเอเชียบ้างแต่ก็ยังไม่ หลากหลายเท่าที่ China Town

.............................................................................................................................
ที่พักอาศัย 

Homestay
เหมาะสำหรับนักเรียนใหม่ที่เดินทางไปเรียนคนเดียวโดยไม่มีญาติ พี่น้องอยู่ที่ออสเตรเลียเลย หรือ ไม่รู้จักใครเลยในเมืองนี้ เจ้าของ Homestay ส่วนใหญ่จะเป็นชาวออสเตรเลียนหรือ ยุโรป ที่มาตั้งรกรากในประเทศออสเตรเลีย นักเรียนที่อยู่กับ Homestay ในช่วงแรก จะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องและวัฒนธรรมตะวันตกจากเจ้าของบ้าน บางบ้านอาจจะพานักเรียนไปเที่ยวตามสถานที่ที่น่าสนใจ หรืออาจพาไปงานสังสรรค์ ที่เพื่อนๆของเจ้าของ Homestay จัดขึ้นด้วย
Shared Apartment
ลักษณะ คือการอาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์เดียวกัน โดยหารค่าใช้จ่าย อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นรายสัปดาห์ 1 ยูนิต ของ อพาร์ทเม้นท์ อาจมีห้องแยกย่อยข้างในตั้งแต่ 2-5 ห้อง ซึ่งนักเรียนที่เช่าอาจ อยู่ห้องส่วนตัวหรือแชร์ห้องกับนักเรียนต่างชาติคนอื่น แล้วแต่การตกลงกับเจ้าของอพาร์ทเม้นท์และผู้เช่า เป็นที่นิยมสำหรับนักต่างชาติ เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายและยังสร้างสัมพันธ์ และเรียนรู้วัฒนธรรม ใหม่ๆ จากเพื่อนร่วมอพาร์ทเม้นท์ได้อีกด้วย
Town House

โดยมากนักเรียนจะรวมกลุ่มกันไปเช่าบ้านที่ ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ ที่มีอยู่ทั่วไปในเมือง ระยะเวลาเช่าอย่างต่ำประมาณ 6 เดือน จึงเหมาะสำหรับผู้ที่วางแผนจะอยู่ที่ออสเตรเลียค่อน ข้างนานและไม่คอยย้ายที่อยู่บ่อยนัก Town House มีทั้งขนาดเล็ก 3 ห้องนอน จนไปถึงขนาด 6-7 ห้องนอนแล้วแต่ ส่วนมากจะอยู่รอบๆเมือง
Dormitory

หอพักของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะพบมากในมหาวิทยาลัยมากกว่าศูนย์ภาษาอังกฤษทั่วไปของเอกชน ซึ่งผู้เช่าจะต้องเช่าเป็นเทอมคือประมาณ 6 เดือน มีการสมัครและแจ้งความจำนงล่วงหน้ากับมหาวิทยาลัย ว่าต้องการ หอพักแบบใด ห้องเดี่ยวหรือแชร์ห้อง และจะอยู่วิทยาเขตไหน เจ้าหน้าที่หอพักจะจัดดูความเหมาะสมและความจำเป็นของผู้เช่า เพราะบางครั้งนักเรียนจำนวนมากมาขอเช่า หอพักอาจไม่เพียงพอแก่นักเรียนจึงอาจมีการสัมภาษณ์ และพูดคุยถึงความจำเป็น

Guest House

ไม่เหมาะนักสำหรับนักเรียนเพราะ ผู้ที่มาเช่าค่อนข้างหลากหลาย อาจเป็นพวกนักท่องเที่ยวสะพายเป้มาเที่ยว และต้องการที่พักเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะราคาถูกเมือเทียบกับ อัตราค่าเช่าของโรงแรม ดังนั้นถ้าหากจะไปเช่า Guest House ต้องระวังตัวและในเรื่องของทรัพย์สินสิ่งมีค่า ไม่แนะนำให้น้องๆผู้หญิงไปเช่าที่พักแบบนี้

Hotel
มีหลายระดับราคาตั้งแต่ปานกลางไปถึงแพงมาก โรงแรมที่ดีๆ ราคาไม่แพงนักตั้งอยู่ใจกลางเมืองมีหลายที่ แต่ถ้าจะไปเรียน การไปพักโรงแรมชั่วคราว 1-2 อาทิตย์จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง เมือเทียบกับการพักอาศัยกับ Homestay โรงแรมจึงเหมาะสมกับนักท่องเที่ยวมากกว่า ที่พักในระยะสั้นๆ
.............................................................................................................................
ค่าครองชีพ 

โดยรวมแล้ว ประเทศออสเตรเลียจะมีอัตราค่าครองชีพที่ต่ำกว่าประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ประเทศอื่นๆ นักศึกษาต่างชาติควรตั้งงบประมาณการใช้จ่ายไว้ในช่วง A$ 200 ถึง A$ 350 ต่อสัปดาห์ สำหรับค่าใช้จ่ายด้านที่พักอาศัย อาหาร เสื้อผ้า การคมนาคม สิ่งบันเทิงต่างๆ และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ ส่วนค่าครองชีพในเมืองใหญ่ๆ เช่นเมือง Sydney, Melbourne หรือ Brisbane จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเมืองขนาดรองลงไป เช่นเมือง Adelaide, Hobart และ Perth

กล่าวโดยสรุปว่า ค่าครองชีพของนักศึกษา (โสด) โดยเฉลี่ยต่อปี จะตกอยู่ในช่วงประมาณ A$ 9,000-A$ 13,000 ซึ่งรวมค่าที่พักค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าใช้โทรศัพท์ ค่าไฟฟ้า ค่าเครื่องเขียน เสื้อผ้าและสันทนาการต่างๆ สำหรับผู้ที่มีครอบครัว ควรเตรียมค่าใช้จ่ายมากกว่าผู้ที่เป็นโสดประมาณ A$ 3,000 ต่อปี และประมาณ A$ 2,000 ต่อบุตรหนึ่งคน ซึ่งยังไม่รวมค่าเล่าเรียนซึ่งจะอยู่ในช่วงประมาณ A$ 8,000-A$ 12,000 ต่อปี
อย่างไรก็ดี นักศึกษาต่างชาติที่เดินทางเข้ามาศึกษาต่อในประเทศออสเตรเลียด้วยวีซ่านักเรียน สามารถทำงานได้ตามข้อกำหนด แต่เดิม จะต้องมีการขออนุญาตทำงานโดยยื่นเรื่องต่อ
.............................................................................................................................
การประกันสุขภาพ O S H C 

นักเรียนต้องใช้บัตรชั่วคราวไปก่อนจนกว่าจะได้รับบัตรสมาชิกถาวร ทั้งนี้ท่านจะได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสมของวงเงินประกันของท่าน โปรดขอใบเสร็จรับเงินทุกครั้งเมื่อท่านชำระเงิน
บริการของ OSHC ประกอบด้วย
การบริการรักษาทั้งที่โรงพยาบาลและที่บ้าน รวมทั้งการผ่าตัด
การบริการตรวจโรค เช่น การตรวจเลือด
การเอ็กซเรย์
OSHC จะชำระ 85%ของตารางการรักษาพยาบาลของรัฐบาล เมื่อได้รับการรักษานอกโรงพยาบาล หรือ OSHC จะชำระ 100% หากท่านรับการรักษาในโรงพยาบาล นอกจากนี้ OSHC ยังจ่าย 100% เต็มสำหรับค่าบริการรถพยาบาล รวมทั้งคนไข้อาการสาหัส
บริการที่ไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองของ OSHC
ทันตกรรม กายภาพบำบัดและโรคเกี่ยวกับสายตา
การตั้งครรภ์ของผู้ที่ถือวีซ่าต่ำกว่า 3 เดือน
เงื่อนไขในการทำการรักษาหรือสิทธิ์ที่มีอยู่ถูกตัดออกก่อนที่ท่านจะเดือนทางมายังออสเตรเลีย ระหว่าง 18 เดือนแรกของการเป็นสมาชิก
การรักษาได้มีการเตรียมการก่อนการเดินทาง ระหว่างเดินทางไปกลับประเทศออสเตรเลีย
.............................................................................................................................
คำแนะนำการเตรียมตัวก่อนเดินทางมาออสเตรเลีย 

เอกสารที่ต้องติดตัวขึ้นเครื่องลงยินด้วย ห้ามเอาใส่กระเป๋าสัมภาระและโหลดลงใต้ท้องเครื่องบินเด็ดขาด เนื่องจากเป็นหลักฐานสำคัญที่จำเป็นต้องแสดงให้กองตรวจคนเข้าเมืองดู
พาสปอร์ต
ตั๋วเครื่องบิน
COE
Transcript (Eng)
รูปถ่าย 1+2 นิ้ว (เอามาสักอย่างละโหล เพราะมาถึงมันก็อาจจะต้องใช้ จะได้ไม่ต้องถ่ายใหม่ ที่นี่ นอกจากแพงแล้ว ถ่ายออกมาอูบาทว์อีกต่างหาก)
เอกสารรับรองประวัติการทำงาน (Eng) (ถ้ามี)
ประกาศนียบัตรอื่นๆ (Eng) (ถ้ามี)
ข้อมูลชื่อ สถานที่ตั้ง เบอร์ติดต่อ ของผู้ปกครองของเราในประเทศไทย
ข้อมูลชื่อ สถานที่ตั้ง เบอร์ติดต่อ ของโรงเรียนที่จะมาเรียน และที่พัก รวมทั้งชื่อผู้ที่สามารถติดต่อได้ กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ต้องการคุยด้วย
โดยน้องๆ ต้องถ่ายเอกสารเหล่านี้เก็บไว้ที่ที่พัก 1 ชุด ในกรณีที่เอกสารตัวจริงหายหรือในบางกรณีต้องให้ผู้ปกครองใช้อ้างอิง และควรถ่ายสำเนาเอกสารติดตัวไว้ใช้ 1 ชุด ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย ต้องใช้สำเนาหลักฐานพวกนี้ในการอ้างอิง

สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ในการบรรจุของลงกระเป๋า
ในช่วงหลังมานี้ระบบรักษาความปลอดภัยในการเดินทางทางอากาศมีความเข้มงวดมากขึ้น มาตรการป้องกันการก่อการร้ายต่างๆ ถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ทุกฝ่าย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อการร้าย หนึ่งในนั้นก็คือมาตรการจำกัดของเหลวที่จะนำติดตัวขึ้นไปในห้องโดยสาร ตามรายละเอียดดังนี้

ของเหลว เจล หรือครีม ทุกชนิด แต่ละชิ้นจะต้องบรรจุอยู่ในภาชนะที่มีปริมาตรบรรจุสูงสุดไม่เกิน 100 มิลลิลิตร
ปริมาตรรวมกันทั้งหมด ไม่เกิน 1 ลิตร หรือ 1000 มิลลิลิตร
ทั้งหมดจะต้องบรรจุในถุงพลาสติกใส ซึ่งมีแจกสามารถขอได้ที่เคาน์เตอร์เช็คอิน

หากไม่ปฎิบัติตามข้อ 1 - 3 อย่างครบถ้วน เมื่อไปถึง Security ก็จะถูกยึด ไม่อนุญาตให้นำติดตัวขึ้นเครื่องในห้องโดยสาร

อย่างไรก็ตาม เราสามารถนำของเหลว เจล หรือ ครีม เหล่านี้ ในปริมาตรเท่าใดก็ได้ ใส่เข้าไปในกระเป๋าที่โหลดเข้าใต้ท้องเครื่องบิน จะทะลึ่งเอาถังน้ำ 20 ลิตร ใส่เข้าไปด้วยก็ไม่มีใครว่า แต่ถ้าน้ำหนักเกินก็เสียค่าปรับเอาเอง

ข้อควรรู้อื่นๆ ในการเตรียมของและเดินทาง

ไฟฟ้าที่นี่ใช้ 230V ดังนั้น อุปกรณ์ไฟฟ้าเมืองไทย สามารถเอามาใช้ได้ทุกอย่าง แต่จะต้องมีหัวแปลงปลั๊กไฟ เพราะใช้ปลั๊กไม่เหมือนกัน ปลั๊กไฟที่ออสเตรเลียจะเป็นแบบสามขา
ควรจะเปิดบัญชี ที่ทำ ATM แบบกดได้ทั่วโลก ที่เมืองไทย เอาไว้ด้วย เช่น บัตร B-First ของ ธ.กรุงเทพ เผื่อฉุกเฉิน ให้ที่บ้านโอนเงินเข้า แล้วมากดเอาที่นี่ได้เลย
ไม่ควรแลก พกเงินสดติดตัวขึ้นเครื่องจำนวนเยอะๆ เพราะไม่ปลอดภัย ใช้วิธี แลกมาสักพันดอล ติดตัวมา มาถึงแล้วก็เปิดบัญชีธนาคารที่นี่เอาไว้ แล้วให้ที่บ้านโอนเข้าบัญชี หรือมากดเอาทีหลัง เพื่อความปลอดภัยในการเก็บรักษาและเดินทาง
ก่อนขึ้นเครื่อง ให้หาเสื้อกันหนาว 1 ตัว ติดไว้ในกระเป๋าที่แบกขึ้นเครื่อง ไปด้วย เพราะอยู่บนเครื่อง ตอนดึกๆ จะหนาวพอสมควร
เนื่องจากกระเป๋าที่โหลดเข้าใต้เครื่อง ส่วนใหญ่จำกัดน้ำหนักที่ 30 กิโล ดังนั้นก็ให้ระวัง มิเช่นนั้นอาจจะโดนปรับได้ เวลาบรรจุสิ่งของลงในกระเป๋า .shเลือกอันไหนมีน้ำหนักเบาให้เอาใส่กระเป๋าใบใหญ่ ส่วนอันไหนหนักๆ ก็เอาไปใส่ที่กระเป๋าเป้ที่แบกเองขึ้นเครื่อง เพราะปกติแล้วเจ้าหน้าที่จะไม่ค่อยจะเช็คน้ำหนัก นอกจาก เราไปทำท่าให้เค้าเห็นว่าหนักมากหรือใบใหญ่เกินไป
ของมีคม เช่น มีด กรรไกร คัทเตอร์ ไขควง หรืออะไรที่ อาจจะถูกมองว่าเป็นอาวุธได้ ให้เอาไปใส่ในกระเป๋าที่โหลดใต้เครื่อง ไม่งั้นอาจจะมีปัญหาในการเดินทางได้ อ้อ ไฟแช็ค เด๋วนี้เค้าไม่ค่อยให้เอาขึ้นไป ถ้าใครพกมาด้วย ก็เอาเก็บใส่กระเป๋าใหญ่ดีกว่านะครับ
ของกิน ถ้าไม่จำเป็นอย่าเอามาดีกว่า เพราะเสี่ยงที่จะโดนตรวจ ถ้าไม่ผ่าน และโดนโยนทิ้ง ดีไม่ดี ถ้าลืมดีแคร์ มีสิทธิ์โดนปรับหนัก (โปรดสังเกตค่าปรับบนป้ายประกาศในรูป)
ของใช้ส่วนตัวผู้หญิง ผ้าอนามัยที่ออสเตรเลียราคาค่อนข้างแพง และใช้ไม่ค่อยถูกใจหญิงไทยเท่าไหร่นัก ดังนั้นน้องๆ ผู้หญิงก็หาติดตัวกันมาด้วย
ของประเภททำจากไม้ทั้งหลาย ถ้าเลี่ยงได้ให้เลี่ยง เพราะจะไม่ค่อยได้รับอนุญาตให้เอาเข้าประเทศ ถ้าถูกตรวจเจอ อาจจะโดนทิ้ง หรือปรับ หรือต้องเสียภาษีแพงๆ
ใครที่คิดจะใช้คอมและพิมพ์ดีดสัมผัสไม่เป็น ให้หาซื้อสติกเกอร์ตัวอักษร แป้น พิมพ์ดีดไทย มาด้วย หรือถ้อ
ถ้านั่งสายการบินที่ต้องมีการเปลี่ยนเครื่องกลางทาง เมื่ออยู่ระหว่างรอเปลี่ยนเครื่อง ให้พยายามเงี่ยหูฟังประกาศ และดูที่หน้าจอแสดงเกท บ่อยๆ เพราะอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงกระทันหันได้ ไม่ห่วงเรื่องน้ำหนัก จะซื้อแป้น ภาษาไทยมาด้วยเลยก็ได้
รถเข็นตามสนามบิน มันอาจจะอยู่ซอกหลืบหน่อย หาไม่เจอก็ถามประชาสัมพันธ์เอา ถ้าหาเจอแล้วก็ใช้ๆไปเหอะ เขาให้ใช้ฟรี อย่าโง่เดินแบก 18 กิโลเดิน เหมือนผม เพราะหารถเข็นไม่เจอ
เวลาเข้าไปเครื่องตรวจโลหะ ที่เกทตอนจะขึ้นเครื่อง ถ้ามีเหรียญอย่าลืมล้วงเหรียญใส่ตะกร้าที่เขายื่นมาให้ด้วย มิเช่นนั้นถ้าเครื่องมันร้อง สายตานับร้อยอาจจะมาจ้องให้ได้อายเอาได้
ใครมาถึงช่วงเช้า อยากเห็นพระอาทิตย์ขึ้นสวยๆ ให้นั่งติดหน้าต่างด้านซ้าย เช่นกัน ใครมาถึงช่วงกลางคืน ถ้าอยากเห็นพระอาทิตย์ตก ให้นั่งติดหน้าต่างด้านขวา

ข้อควรรู้อื่นๆ หลังจากมาถึงออสเตรเลียแล้ว

ระบบน้ำร้อนที่ออสเตรเลีย ทุกก็อกจะมีน้ำร้อน และเย็น ดังนั้นเวลาใช้ให้ระวังด้วย อาจจะโดนลวกได้
ที่ออสเตรลียไม่ใช้น้ำล้างตูด เชาวออสสเตรเลียจะใช้กระดาษทิชชู่แทน ดังนั้นจึงต้องเตรียมตูด เตรียมใจไว้ หรือใครขาดน้ำไม่ได้ก็เตรียมเทคนิคส่วนตัวเอาไว้ด้วย
มาถึงใหม่ๆ เจอเด็กๆน่ารัก อย่าไปแตะต้อง มิเช่นนั้นอาจจะโดนพ่อแม่เด็กด่าว่าได้ และที่สำคัญ ห้ามให้ขนม หรือของเล่นเด็กแปลกหน้าเป็นอันขาด ไม่ว่ากรณีใดๆ
รถเมล์ รถไฟ และเรือ ที่นี่จะวิ่งเป็นเวลา ดังนั้น ให้ดูเวลาให้แน่นอนเอาไว้ก่อนเดินทาง จะได้ไม่ต้องไปนั่งรอนานๆ
บัตรนักเรียน ISIC Card หรือบัตรนักเรียนโรงเรียนภาษา โดยทั่วไปไม่สามารถที่จะใช้เป็นส่วนลดค่าโดยสารได้ จะต้องเป็นบัตรที่ออกให้เป็นพิเศษจากสถาบันที่ทาง Council รับรอง ตัวอย่างเช่น บริสเบน จะใช้ส่วนลดได้ก็ต่อเมื่อ บนบัตรนักเรียนมีสัญลักษณ์ QR เท่านั้น และบางเมืองเช่น เมลเบิร์น หรือซิดนีย์ ไม่มีส่วนลดให้นักเรียนต่างชาติอย่างเราๆ
.............................................................................................................................
สถานที่ควรระวัง และการระวังตัว

ออสเตรเลียถือว่าเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยสูงพอสมควร ตามถนนหนทางบางแห่งที่ค่อนข้างเปลี่ยวจะมีกล้องโทรทัศน์วงจร ปิดติดตั้งอยู่เป็นจุด แต่สิ่งที่น้องๆควรต้องระวังตัวเองคือการเดินที่เปลี่ยวใน ตอนกลางคืนดึกๆ ถึงแม้ว่าจะมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิดติดตั้งอยู่ ก็ยังต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะมิจฉาชีพมีอยู่ทุกหนแห่งในโลก สิ่งที่ควรระวัง คือ
ไม่ควรพกของมีค่าติดตัวจำนวนมาก
ไม่ควรใส่เครื่องประดับมีค่า
ไม่ควรเดินในซอยเปลี่ยวคนเดียว (ทั้งผู้ชายและผู้หญิง)
ไม่ควรพูดคุยกับคนแปลกหน้า
ไม่ควรพูดโทรศัพท์ระหว่างเดินในที่เปลี่ยว เพราะความระมัดระวังตัวเราอาจลดลงไป
บางพื้นที่ หรือบาง Suburb ใกล้เคียง Sydney อาทิ Redfern หรือ Kings Cross จะมีพวกขี้เหล้าเมายาเยอะ เวลาเดินในช่วงกลางคืน ให้ระวังเป็นพิเศษ ถ้ามีความจำเป็นจะไปบริเวณดังกล่าวจริงๆ ควรหาเพื่อนไปด้วยกันจะดีกว่า
.............................................................................................................................
Culture Shock

คือ วัฒนธรรมของต่างประเทศที่แตกต่างไปจากประเทศเรา หรือที่เราคุ้นเคย เป็นสิ่งที่ไม่มีบอกในตำราแต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนที่ไปใช้ชีวิต หรือได้พบเจอ จะแปลกมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการปรับตัวและ ความเคยชินของแต่ละคน เช่น
ขึ้น รถเมล์ต้องทักคนขับ และคนขับก็จะทักเรา พอลงก็ต้องบอก ขอบคุณ ซึ่งต่างกับประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง ที่แค่ขึ้นรถเมล์ทันโดยปลอดภัยก็นับว่าโชคดีมากๆแล้ว
ใช้ส้อมตักข้าว บางคนกินอิ่มก็ไม่กินน้ำเลย จะกินทีหลัง (ประมาณ ชั่วโมง) คนไทยต้องมีน้ำด้วยตลอด
กินพิซซ่าไม่ใส่ซอสมะเขือเทศ และกินเฟร้นฟราย กับ น้ำส้มสายชู (จะอร่อยมั้ยเนี่ย)
อาการของ Culture Shock ก็มีแบ่งเป็นระยะได้ เริ่มตั้งแต่
ระยะแรก ใหม่ๆ แรก ๆ อะไรก็ดีไปหมด จะรู้สึกชอบทุก ๆ อย่างที่อยู่รอบ ๆ ตัว ตื่นเต้นกับบ้านใหม่ อะไรมันจะสะดวกสบายขนาดนั้น รู้สึกตัวเองมีอิสระ เสรี และมีความสุขกับกับโลกใบใหม่นี้จริงๆเลยนะ ไปเที่ยวโน้นเที่ยวนี่ไม่เบื่อ ตื่นตาตื่นใจไปเสียหมด ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นในช่วงสองอาทิตย์แรกที่ไปถึง
ระยะที่สอง ความคุ้นเคยจะเข้ามาเยือน เราจะเริ่มคุ้นเคยกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว บวกกับความเหงา เดียวดาย เริ่มจะไม่ชอบการอยู่คนเดียว คิดถึงบ้าน คิดถึงแม่ คิดถึงอาหารไทย นี้เลยคะอาการเริ่มแรก ของโฮมซิก หรือ อาการคิดถึงบ้านใจจะขาดนั้นเอง จะเริ่มตั้งแต่เกลียดเมืองที่อยู่อาศัยเอง เกลียดประเทศที่มาอยู่อาศัย เกลียดผู้คนรอบ ๆ ตัว เกลียดอพาร์ทเม้นต์ที่อยู่อาศัย เกลียดทุก ๆ อย่างในประเทศนี้ ระยะนี้แหละที่จัดได้ว่าเป็นระยะอันตราย ถ้ารอดจากระยะนี้ได้ก็สบายได้เป็นนักเรียนนอกแน่ แต่ถ้าไม่รอดก็โบกมือ บ้าย บาย จิงโจ้กลับไปกินส้มตำที่บ้านแน่นอน
ระยะที่สาม สุดท้ายและตลอดไป นั่นหมายถึงว่านายแน่มากที่ผ่านระยะที่สองมาได้ เราจะเริ่มปรับยอมรับกับทุก ๆ สิ่งที่อยู่รอบข้างรู้จักเพื่อนใหม่ๆ การเรียนที่เริ่มจะดูจริงจังมากขึ้น บ้างก็ได้งานทำ เริ่มใช้เหตุผลในการใช้ชีวิตมากขึ้น ประมาณว่า Life must go on และจะเริ่มมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น บ้างก็เลยไปถึงระยะที่สี่คือระยะไม่อยากกลับบ้าน เห็นอะไรที่เมืองไทยไม่ดีไปหมด อยากอยู่ออสเตรเลียจนตายก็มี อย่าเลยนะพ่อแม่รออยู่
.............................................................................................................................
การปรับตัวให้อยู่อย่างมีความสุข 

การเข้าใจธรรมเนียมบางอย่างของคนออสเตรเลียก็ช่วยให้เรา เข้าใจและอยู่ในสังคมออสเตรเลียได้อย่างมีความสุข จึงมีธรรมเนียมบางอย่างที่คุณควรรู้บ้างเช่น
ชาวออสเตรเลียให้ความสำคัญกับคำว่า “Please” และคำว่า “Thank you” หรือพูดสั้นๆ ว่า “Ta”
หากได้รับเชิญไปรับประทานอาหารที่บ้านใคร ถือเป็นธรรมเนียมที่คุณควรนำอะไรติดมือไปด้วย เช่น เครื่องดื่มสักขวด
การมาสายถือว่าไม่สุภาพ
ไม่มีการต่อรองราคาเมื่อซื้อของหรือนั่งแท็กซี่
ที่ออสเตรเลีย เวลาแต่งงาน เจ้าบ่าว-เจ้าสาวจะระบุของขวัญมาว่าต้องการอะไรบ้าง แล้วให้เราไปเลือกซื้อให้เค้า
เวลาแขกมาบ้าน ถ้ายกน้ำเปล่ามาให้ จะเหมือนดูถูก ไม่มีมรรยาท ต้องถามว่าเค้าต้องการอะไร ชา กาแฟ หรือน้ำผลไม้
ขึ้นรถเมล์ต้องทักคนขับ และคนขับก็จะทักเรา พอลงก็ต้องบอก ขอบคุณ
ใช้ส้อมตักข้าว บางคนกินอิ่มก็ไม่กินน้ำเลย จะกินทีหลัง (ประมาณ ชั่วโมง)
ห้างสรรพสินค้าและ ร้านค้าต่างๆ จะปิดเร็วมาก บางที 6 โมงก็ปิดแล้ว
ร้านอาหารจะอยู่เป็นจุดๆ ไม่เหมือนบ้านเรา แบบบ้านก็บ้านไปเลย ร้านก็อยู่รวมกัน
กินพิซซ่าไม่ใส่ซอสมะเขือเทศ และกินเฟร้นฟราย กะ น้ำส้มสายชู
คนทำงานแล้ว / นักศึกษา /นักเรียน ส่วนมากจะ ทำอาหารกลางวันไปกิน แล้วนั่งกิน ตาม เก้าอี้ริมถนน หรือสวนสาธารณะ
.............................................................................................................................
กรณีพาสปอร์หาย หมดอายุ และการทำพาสปอร์ตใหม่ 

ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องทำพาสปอร์ตใหม่ในขณะที่อยู่ในออสเตรเลีย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เราสามารถยื่นคำร้องขอทำพาสปอร์ตใหม่ในออสเตรเลียได้ โดยไม่ต้องกลับไปทำที่เมืองไทย อย่างไรก็ตาม คนที่อยู่ Sydney และ Canberra จะได้เปรียบในเรื่องนี้ เพราะศูนย์บริการถาวรจะอยู่ที่สองเมืองนี้เท่านั้น ในขณะที่เมืองอื่นๆ จะมีให้บริการเป็นรูปแบบสัญจรเป็นครั้งๆ ไป
กรณีพาสปอร์ตหาย
สิ่งแรกที่จะต้องทำเมื่อทราบว่าพาสปอร์ตหายก็คือ แจ้งความแก่สถานีตำรวจท้องถิ่นที่เกิดเหตุเพื่อลงบันทึกประจำวัน และมี Event Number จากทางตำรวจเป็นหลักฐานอ้างอิง หลังจากนั้นก็ให้ติดต่อเพื่อขอทำพาสปอร์ตใหม่ ตามรายละเอียดดังนี้
การขอทำพาสปอร์ตใหม่

1. ผู้ขอทำพาสปอร์ตใหม่จะต้องติดต่อด้วยตนเองเพราะต้องถ่ายรูปด้วย
2. สถานที่ติดต่อ

Royal Thai Embassy
111 Empire Circuit
YARRALUMLA A.C.T. 2600
Tel (02) 6206-0100 Fax (02) 6273-1518

Royal Thai Consulate-General, Sydney
Level 8,131 Macquarie Street,
Sydney 2000
Tel: (02) 9241 2542 and (02) 9241 2543, or Fax: (02) 9247 8312
Thai Passport Section: 9.30am-12.30pm., 2.00pm-3.45pm.

3. หลักฐานที่ต้องนำติดตัวมาด้วย
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน
สำเนาหน้าหนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน (กรณีหมดอายุ หรือใกล้หมดอายุ)
สำเนาใบเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (ถ้ามี)
สำเนาทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)
กรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย ต้องมีใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจออสเตรเลีย พร้อมสำเนา 1 ชุด

ผู้เยาว์ สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องมีหลักฐานต่อไปนี้ประกอบด้วย
สำเนาสูติบัตรไทย หรือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เยาว์
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์และของบิดามารดา
สำเนาทะเบียนสมรสของบิดามารดา
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา
สำเนาหน้าหนังสือเดินทางของบิดา (เฉพาะบิดาเป็นชาวต่างชาติ)
บิดาและมารดาของผู้เยาว์จะต้องมาลงนามให้ความยินยอมในการออกหนังสือเดินทาง ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ หากบิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ให้ทำ 'หนังสือมอบอำนาจและให้ความยินยอม' (สำหรับทำหนังสือเดินทางให้ผู้เยาว์) โดยต้องไปลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ Notary Public (คือ เซ้นชื่อต่อหน้า ) เพื่อรับรองลายมือชื่อของบิดาและมารดา

ในกรณีที่บิดามารดาอยู่ที่ประเทศไทย ทั้งบิดาและมารดาต้องทำ 'หนังสือให้ความยินยอม' ให้บุตรทำหนังสือเดินทางผ่านกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ [กทม] หรือผ่านที่ว่าการอำเภอ [ต่างจังหวัด] กรณีที่บิดามารดาจดทะเบียนหย่าแล้ว ให้ฝ่ายที่มีอำนาจปกครองบุตรเป็นผู้ลงนามในหนังสือยินยอมเพียงฝ่ายเดียว
(ต้องมีหนังสือปกครองบุตร)

ข้าราชการผู้ที่ลามาศึกษาต่อ ยื่นเอกสาร/หลักฐานเพิ่มเติม ดังนี้
ข้าราชการและนักศึกษาที่ลามาศึกษาต่อนอกความดูแลของก.พ. จะต้องยื่นหนังสือของส่วนราชการต้นสังกัดที่อนุมัติให้ลาศึกษาต่อ พร้อมฉบับถ่ายเอกสาร 1 ชุด
ข้าราชการและนักศึกษาที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ให้ยื่นเรื่องผ่านสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทย ณ กรุงแคนเบอร์รา

พระภิกษุ ยื่นเอกสาร/หลักฐานเพิ่มเติม ดังนี้
สำเนามติมหาเถรสมาคมอนุมัติการต่ออายุ (ออก) หนังสือเดินทาง ซึ่งระบุชื่อ และฉายา หรือนามสกุลที่ตรงกับหนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา 1 ชุด
ใบสุทธิ พร้อมสำเนา 1 ชุด
ทะเบียนบ้าน พร้อมด้วยสำเนา 1 ชุด
หมายเหตุ

1. ค่าธรรมเนียม 55.00 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (กรุณาเตรียมเงินไปให้พอดี)
2. กรณีหญิงที่สมรสและประสงค์จะใช้นามสกุลสามี จะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว ณ ที่ว่าการอำเภอตามทะเบียนบ้านของตนก่อน
3. รายละเอียดในหนังสือเดินทางจะเป็นไปตามหลักฐานทะเบียนราษฎร์ (บัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน) ของไทยเท่านั้น
4. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 9241 2542-3 ต่อ 200 และ 206

ที่มา : สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์

.............................................................................................................................
สถานทูตไทยในประเทออสเตรเลีย
Australia, Royal Thai Embassy, Canberra
111 Empire Circuit, Yarralumla, A.C.T 2600, Canberra
Tel : (02) 6273 1149, 6273 2937
Fax : (02) 6273 1518
Australia, Royal Thai Consulate General, Sydney
Level 8, 131 Macquarie Street Sydney, NSW 2000
Tel : (02) 9241 2542, 9241 2543
Fax : (02) 9247 8312
E-mail : thaicon-sydney@dipiomats.com
Website : thaisydney.idx.com.au
Australia, Royal Thai Consulate-General, Brisbane
87 Annerley Road, South Brisbane, QLD 4102 Australia
Tel : (07) 3846 7771
Fax : (07) 3846 7772
E-mail : admin@thaiconsulate.org
Website : www.thaiconsulate.org
Australia, Royal Thai Consulate General, Adeiaide
Level 1, 72 Flinders Street Adelaide SA 5000
Tel : (08) 8232 7474
Fax : (08) 8232 7474
Australia, Royal Thai Consulate General, Melbourne
Suite 301, 566 St Kilda Road Melbourne VIC 3004
Tel : (03) 9533 9100
Fax : (03) 9533 9200
Australia, Royal Thai Consulate General, Perth
Visa Section, 4 th floor, Durack Centre 263 Adelaide Tce Perth WA 6000
Tel : (08) 9221 3237
Fax : (08) 9221 1635
E-mail : jamjohn@highway1.com.au